สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แผนการสอนวิชาลูกเสือเรื่อง ความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
แผนการจัดกิจกรรมที่ 5
กิจกรรมลูกเสือ- เนตรนารี (เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ)หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งแวดล้อม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ย่อยที่ 1
เรื่อง ความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์เวลา 1 ชม. ภาคเรียนที่ 1
1. สาระสำคัญ
สิ่งแวดล้อมคือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ การเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมย่อมทำให้สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. ผลการเรียนรู้ทีคาดหวัง
รู้และเข้าใจความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ได้
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและจำแนกประเภทของสิ่งแวดล้อมได้
2. อธิบายความสำคัญของสิ่งแวดล้อมได้
3 . วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ได้
4. สาระการเรียนรู้
1. ความหมายและประเภทของสิ่งแวดล้อม
2. ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
5. กิจกรรมการเรียนรู้
5.1 เปิดประชุมกอง- พิธีเปิด (ชักธงขึ้น สวดมนต์ สงบนิ่ง) 7 นาที (ผู้กำกับ)
- ตรวจเชือกผูกรองเท้า (รองผู้กำกับ)- แยก- เพลง (เพลงป่าดงพงพี) 3 นาที (รองผู้กำกับ)
5.2 เรียนตามเนื้อหา 35 นาที (ผู้กำกับ)
5.2.1 ผู้เรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ เสร็จแล้วตรวจจากแบบเฉลย แล้วบันทึกผลลงในแบบ บันทึกคะแนน ใช้เวลา 5 นาที
5.2.2 แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง ความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
5.2.3 ผู้เรียนศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ผู้กำกับสอดแทรกคุณธรรมในเรื่องความซื่อสัตย์ในการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
5.2.4 ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่องความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์แล้วตรวจจากแบบเฉลย จากนั้นบันทึกคะแนนในแบบบันทึกผลการประเมินผล ใช้เวลา 5 นาที
5.3 เล่าเรื่องสั้นที่เป็นคติ (นกพิราบกับผึ้ง) 5 นาที (ผู้กำกับ)
5.4 พิธีปิดประชุมกอง 10 นาที (ผู้กำกับ)- ผู้กำกับนัดหมายให้ทุกคนนำไม้ง่ามมา- ตรวจเครื่องแบบ (นายหมู่)- ชักธงลง- เลิก
6. สื่อการเรียนรู้
6.1 บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
6.2 เพลง ป่าดงพงพี
6.3 นิทาน เรื่อง นกพิราบกับผึ้ง
7. แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
7.1 ห้องสมุด
7.2 เอกสารเสริมความรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ลูกเสือ - เนตรนารี)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
8. การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
8.1 วิธีวัดผลและประเมินผล
8.1.1 ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
8.1.2 ตรวจกรอบกิจกรรมที่ 1 และที่ 2
8.2 เกณฑ์การวัดและประเมินผล
8.2.1 ทำแบบทดก่อนเรียนและหลังเรียน 10 ข้อผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
8.2.2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
- เกณฑ์การประเมิน ดังนี้ 8 – 10 คะแนน ดี
5 – 7 คะแนน ปานกลาง
0 – 4 คะแนน ต้องปรับปรุง
- เกณฑ์การตัดสิน ดังนี้
5 - 10 คะแนน ผ่าน
0 - 4 คะแนน ไม่ผ่าน
8.3 เครื่องมือวัดและประเมินผล
8.3.1 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
8.3.2 แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
8.3.3 แบบประเมินแบบฝึกหัดจากกรอบกิจกรรมที่ 1 และ ที่ 2
ภาคผนวก
เพลง “ป่าดงพงพี”
ป่าดงพงพีของไทยเรานี้มีเกินพอ อย่ามัวรีรอ ขอเชิญช่วยกันขมันขมีถิ่นไทยนี้แดนสุขสันต์
หลากพันธุ์ไม้งามสดสี ตื่นเถิดเรายามเช้ามุ่งงานทันที จอบและเสียมของเราก็มีสินทรัพย์ ทวี
ด้วยการกสิกรรม ๆ (ซ้ำ)ป่าดงพงพีของไทยเรานี้อุดมครัน อยู่ในไพรวัลย์รักษ์ดินถิ่นไทย
ใจหรรษาแหล่งธารน้ำซ่านหลั่งไหล หว่างไพรนี้งามหนักหนา ถิ่นแดนทองเรานี้ควรปองคุณค่า
หมั่นขยันทุกวันเวลา สินทรัพย์ได้มาด้วยกสิกรรม ๆ (ซ้ำ)
เรื่องสั้น
เรื่อง “นกพิราบกับผึ้ง”
วันหนึ่ง นกพิราบตัวหนึ่งกำลังกินน้ำอยู่ริมลำธาร มันเห็นผึ้งตัวหนึ่ง ตกลงไปในน้ำ สำหรับผึ้งแล้ว การตกลงไปในลำธารเล็กๆ แห่งนั้น เป็นเรื่องร้ายแรงเหมือนคนเรือแตกกลางมหาสมุทรทีเดียวนกพิราบเห็นเข้า เกิดความสงสาร มันจึงเอาจะงอยปาก คาบหญ้าแห้งต้นหนึ่ง โยนลงไปให้ผึ้งหญ้าแห้งต้นนั้น มีค่ามากสำหรับเจ้าผึ้ง เหมือนคนเรือแตกที่โชคดีได้พบเกาะทีเดียวสักครู่หนึ่งต่อมามีนายพรานผู้หนึ่ง ถือปืนยาว เที่ยวด้อม ๆ มอง ๆ และเมื่อเห็นนกพิราบเข้า ก็ยกปืนขึ้นเล็ง จะยิงเสียให้ตายเพื่อเอาไปทำเป็นอาหารยังไม่ทันที่จะได้เหนี่ยวไก ผึ้งตัวนั้น ก็กัดนายพรานเข้าให้ที่เท้า นกพิราบเห็นดังนี้ ก็เข้าใจและรีบบินหนีไปให้
ไกลคติสอนใจ : บุญคุณต้องทดแทน
บรรณานุกรมคณะลูกเสือแห่งชาติ. มูลนิธิ. กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-3. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2537.
ภาณี คูสุวรรณ์. การจัดการสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : เอมพันธ์. 2546.
แผนการจัดกิจกรรมที่ 5
กิจกรรมลูกเสือ- เนตรนารี (เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ)หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งแวดล้อม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ย่อยที่ 1
เรื่อง ความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์เวลา 1 ชม. ภาคเรียนที่ 1
1. สาระสำคัญ
สิ่งแวดล้อมคือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ การเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมย่อมทำให้สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. ผลการเรียนรู้ทีคาดหวัง
รู้และเข้าใจความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสามารถวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ได้
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายและจำแนกประเภทของสิ่งแวดล้อมได้
2. อธิบายความสำคัญของสิ่งแวดล้อมได้
3 . วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ได้
4. สาระการเรียนรู้
1. ความหมายและประเภทของสิ่งแวดล้อม
2. ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
5. กิจกรรมการเรียนรู้
5.1 เปิดประชุมกอง- พิธีเปิด (ชักธงขึ้น สวดมนต์ สงบนิ่ง) 7 นาที (ผู้กำกับ)
- ตรวจเชือกผูกรองเท้า (รองผู้กำกับ)- แยก- เพลง (เพลงป่าดงพงพี) 3 นาที (รองผู้กำกับ)
5.2 เรียนตามเนื้อหา 35 นาที (ผู้กำกับ)
5.2.1 ผู้เรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ เสร็จแล้วตรวจจากแบบเฉลย แล้วบันทึกผลลงในแบบ บันทึกคะแนน ใช้เวลา 5 นาที
5.2.2 แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง ความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
5.2.3 ผู้เรียนศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์ โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ผู้กำกับสอดแทรกคุณธรรมในเรื่องความซื่อสัตย์ในการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
5.2.4 ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่องความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์แล้วตรวจจากแบบเฉลย จากนั้นบันทึกคะแนนในแบบบันทึกผลการประเมินผล ใช้เวลา 5 นาที
5.3 เล่าเรื่องสั้นที่เป็นคติ (นกพิราบกับผึ้ง) 5 นาที (ผู้กำกับ)
5.4 พิธีปิดประชุมกอง 10 นาที (ผู้กำกับ)- ผู้กำกับนัดหมายให้ทุกคนนำไม้ง่ามมา- ตรวจเครื่องแบบ (นายหมู่)- ชักธงลง- เลิก
6. สื่อการเรียนรู้
6.1 บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
6.2 เพลง ป่าดงพงพี
6.3 นิทาน เรื่อง นกพิราบกับผึ้ง
7. แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม
7.1 ห้องสมุด
7.2 เอกสารเสริมความรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ลูกเสือ - เนตรนารี)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
8. การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
8.1 วิธีวัดผลและประเมินผล
8.1.1 ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
8.1.2 ตรวจกรอบกิจกรรมที่ 1 และที่ 2
8.2 เกณฑ์การวัดและประเมินผล
8.2.1 ทำแบบทดก่อนเรียนและหลังเรียน 10 ข้อผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
8.2.2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
- เกณฑ์การประเมิน ดังนี้ 8 – 10 คะแนน ดี
5 – 7 คะแนน ปานกลาง
0 – 4 คะแนน ต้องปรับปรุง
- เกณฑ์การตัดสิน ดังนี้
5 - 10 คะแนน ผ่าน
0 - 4 คะแนน ไม่ผ่าน
8.3 เครื่องมือวัดและประเมินผล
8.3.1 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเรื่องความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์
8.3.2 แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
8.3.3 แบบประเมินแบบฝึกหัดจากกรอบกิจกรรมที่ 1 และ ที่ 2
ภาคผนวก
เพลง “ป่าดงพงพี”
ป่าดงพงพีของไทยเรานี้มีเกินพอ อย่ามัวรีรอ ขอเชิญช่วยกันขมันขมีถิ่นไทยนี้แดนสุขสันต์
หลากพันธุ์ไม้งามสดสี ตื่นเถิดเรายามเช้ามุ่งงานทันที จอบและเสียมของเราก็มีสินทรัพย์ ทวี
ด้วยการกสิกรรม ๆ (ซ้ำ)ป่าดงพงพีของไทยเรานี้อุดมครัน อยู่ในไพรวัลย์รักษ์ดินถิ่นไทย
ใจหรรษาแหล่งธารน้ำซ่านหลั่งไหล หว่างไพรนี้งามหนักหนา ถิ่นแดนทองเรานี้ควรปองคุณค่า
หมั่นขยันทุกวันเวลา สินทรัพย์ได้มาด้วยกสิกรรม ๆ (ซ้ำ)
เรื่องสั้น
เรื่อง “นกพิราบกับผึ้ง”
วันหนึ่ง นกพิราบตัวหนึ่งกำลังกินน้ำอยู่ริมลำธาร มันเห็นผึ้งตัวหนึ่ง ตกลงไปในน้ำ สำหรับผึ้งแล้ว การตกลงไปในลำธารเล็กๆ แห่งนั้น เป็นเรื่องร้ายแรงเหมือนคนเรือแตกกลางมหาสมุทรทีเดียวนกพิราบเห็นเข้า เกิดความสงสาร มันจึงเอาจะงอยปาก คาบหญ้าแห้งต้นหนึ่ง โยนลงไปให้ผึ้งหญ้าแห้งต้นนั้น มีค่ามากสำหรับเจ้าผึ้ง เหมือนคนเรือแตกที่โชคดีได้พบเกาะทีเดียวสักครู่หนึ่งต่อมามีนายพรานผู้หนึ่ง ถือปืนยาว เที่ยวด้อม ๆ มอง ๆ และเมื่อเห็นนกพิราบเข้า ก็ยกปืนขึ้นเล็ง จะยิงเสียให้ตายเพื่อเอาไปทำเป็นอาหารยังไม่ทันที่จะได้เหนี่ยวไก ผึ้งตัวนั้น ก็กัดนายพรานเข้าให้ที่เท้า นกพิราบเห็นดังนี้ ก็เข้าใจและรีบบินหนีไปให้
ไกลคติสอนใจ : บุญคุณต้องทดแทน
บรรณานุกรมคณะลูกเสือแห่งชาติ. มูลนิธิ. กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-3. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2537.
ภาณี คูสุวรรณ์. การจัดการสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : เอมพันธ์. 2546.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น